วัดชัยมงคลธรรมวราราม(ไหล่หินใหม่ ธ.)
กรุณา Log in เข้าสู่ระบบ
หรือ สมัครสมาชิก กับเราก่อน เพื่อเข้าสู่ระบบ


ขอบคุณที่มาเยือน
ขอให้ทุกท่าน เจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ตลอดกาลนานเทอญ

ติดต่อ. วัดชัยมงคลธรรมวราราม(วัดไหล่หินใหม่ ธ.) ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง 52130
โทร. 0-5427-4011

Join the forum, it's quick and easy

วัดชัยมงคลธรรมวราราม(ไหล่หินใหม่ ธ.)
กรุณา Log in เข้าสู่ระบบ
หรือ สมัครสมาชิก กับเราก่อน เพื่อเข้าสู่ระบบ


ขอบคุณที่มาเยือน
ขอให้ทุกท่าน เจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ตลอดกาลนานเทอญ

ติดต่อ. วัดชัยมงคลธรรมวราราม(วัดไหล่หินใหม่ ธ.) ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง 52130
โทร. 0-5427-4011

ข่าวประชาสัมพันธ์
วัดชัยมงคลฯ ขอเชิญเข้าร่วมโครงการสร้างชุมชนเข้มแข็งและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาพอเพียง >>รายละเอียด
ธรรมะสว่างใจเรื่องร่วมสร้างชุมชนเข้มแข็งและสังคมคุณธรรม>>รายละเอียด
เชิญพุทธศาสนิกชนทุกท่านร่วมทำวัตรเช้า(05.00 น.)-เย็น(20.00 น.)

เพิ่มเติม ข่าวโครงการ  ข่าวกิจกรรม
ค้นหา
 
 

Display results as :
 


Rechercher Advanced Search

ขอขอบคุณ
คณะศรัทธาทุกท่าน ที่ให้ความร่วมมือกันด้วยดีมาโดยตลอด

จัดทำโดย ลูกศิษย์วัด
ประวัติ บ้านไหล่หิน

Thu Jul 16, 2009 2:56 am by chaimongkol

<<หน้าแรก

วัดชัยมงคลธรรมวราราม(ไหล่หินใหม่ ธ.) - Portal Sdc12417วัดชัยมงคลธรรมวราราม(ไหล่หินใหม่ ธ.) - Portal Sdc12418


ประวัติบ้านไหล่หินโดยสังเขป
ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา
จังหวัดลำปาง เรียบเรียงโดย นายดวงจันทร์ ครุขยัน

กิระดังได้ยินมาว่า บ้านไหล่หิน หมู่ที่ 2 ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา
จังหวัดลำปาง ห่างจากที่ว่าการอำเภอเกาะคา ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 6 กิโลเมตรเศษ มีแม่น้ำแม่ยาวไหลผ่านอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร และพร้อมพรั่งไปด้วยโบราณสถานโบราณวัตถุที่หาดูได้ยากในสมัยนี้แล้วยังมีปูชนียบุคคลที่ควรกราบไหว้บูชาควรแก่การทัศนาเป็นอย่างยิ่งมีสถานศึกษาและยังมีวัดในพระพุทธศาสนาสำหรับเป็นที่พึ่งทางใจอยู่ถึง 2 วัดด้วยกัน คือ
1. วัดเสลารัตนปัพพตาราม(ไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน) ซึ่งเป็นวัดที่เก่าแก่ทางศิลปกรรมและได้ขึ้นทะเบียนกำหนดเป็นเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 97 ตอนที่ 159 ลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2523 สิ่งปลูกสร้างภายในเขตพุทธาวาส และบริเวณเขตสังฆาวาสนับว่าเป็นศิลปแบบลานนาไทยมีลวดลายแพรวพราวมีรูปทรงที่สวยงามมากแบบลานนาซึ่งหาดูได้ยากในสิ่งปลูกสร้างในสมัยนี้พร้อมทั้งพระธาตุเจดีย์ที่ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระสัมมา
สัมพุทธเจ้าและพระบรมธาตุก็ได้บรรจุก่อนวัดพระธาตุลำปางหลวง จึงมีความเชื่อว่าวัดไหล่หินหลวงเป็นพี่วัดพระธาตุลำปางหลวงในพระวิหารนอกจากจะมีพระประธานแล้วยังมีรูปปั้นของพระมหาป่าเกสรปัญโญประดิษฐานเพื่อที่จะได้สักการะบูชาอีกด้วย ภายในโรงธรรมมีคัมภีร์ใบลานอันเก่าแก่ของลานนาไทยอันเป็นที่น่าสนใจของนักค้นคว้านักศึกษานักโบราณคดีอยู่ในขณะนี้และได้สำรวจทำทะเบียนพระคัมภีร์ใบลานของสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมถ์ไว้แล้ว ซึ่งเป็นเอกสารจารึกเป็นภาษาบาลีมีอายุเกินกว่า 500 ปี จึงทำให้เรารู้ว่าเรามีอักษรลานนาไทยใช้มาแล้วเกินกว่าครึ่งสหัสพรรษ์ขึ้นไปทำให้เราทราบว่าหนังสือไตเหนือมีมาก่อนที่ลายสือไทยของพ่อขุนรามคำแหงเรานั่นเองคัมภีร์บางเรื่องมีอายุเกินกว่าพันปี คือมีอายุ 1,136 ปี ชื่อ “ปณณาสนิบาติ” จารเมื่อ จ.ศ. 192 เลขที่สำรวจ ส.ส.ล.ป. 396/2509 มี 7 ผูก รวม 250 หน้า ยาว 57½ ซ.ม. กว้าง 5 ซ.ม. มี 5 บรรทัดต่อ 1 หน้า และทางวัดได้รวบรวมวัตถุโบราณสมัยต่างๆ อาทิ พระแก้วมรกต พระเครื่องลาง เครื่องปั้นดินเผาเครื่องเงินทองและของใช้ทุกอย่างในสมัยโบราณไว้ในพิพิธภัณฑ์ให้ประชาชนผู้สนใจได้ทัศนศึกษาอีกด้วย และยังมีป่าขนาดเล็ก เต็มไปด้วยต้นไม้ยาง ยืนต้นเป็นตระหง่าน แต่ละต้นมีอายุนับหลายร้อยปี สมัยก่อนเมื่อ 40 กว่าปี ได้มีฝูงอีแร้ง อีกา มาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากจนถึงพ.ศ.2510 ไม่ทราบว่า อีแร้ง อีกาทั้งฝูงได้อพยพไปอยู่ในแห่งหนตำบลใดมิทราบ โดยมีลำน้ำแม่ยาวไหลผ่านเปรียบเสมือนเป็นสายโลหิต หล่อเลี้ยงเหล่าประชา ที่อาศัยอยู่ตามลำน้ำแม่ยาวเป็นอย่างดี ณ พ.ศ. 2534 โดยมีพระอธิการทอง อนามโย ( ทอง จอมแปง) เป็นเจ้าอาวาส
2. วัดชัยมงคลธรรมวราราม (ไหล่หินใหม่) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2480 โดยพ่อผู้ใหญ่ป้อ ครุขยัน ได้บริจาคที่ดินและเป็นประธานสร้างพร้อมด้วยคณะศรัทธาบ้านไหล่หิน เพื่อถวายให้หลวงพ่อท่านพระครูธรรมาภิวงศ์เจ้าคณะจังหวัดลำปาง (ธรรมยุติ) ในสมัยนั้นสิ่งปลูกสร้างเป็นแบบสมัยใหม่ภายในพระวิหาร(ต่อมาได้ผูกพัทธสีมา)ได้ประดิษฐานพระประธาน ซึ่งมีพุทธลักษณะสวยงามมาก ควรแก่การกราบไหว้บูชาเป็นอย่างยิ่งเป็นปูชนียสถานสำคัญภายในวัดด้วยเหตุนี้วัดไหล่หินใหม่จึงเป็นสำนักของนักปราชญ์ นักปฏิบัติธรรม ได้รับการอุปถัมภ์จากคณะศรัทธาทั้งในหมู่บ้านและทั่วทุกสารทิศเป็นอย่างดีจึงทำให้วัดไหล่หินใหม่เจ้าอาวาสส่วนมากเป็นผู้แตกฉานในทางธรรมเป็นเลิศทำให้วัดเป็นศูนย์รวมวรรณกรรมอันล้ำค่าเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวทางใจ
เป็นศาสนสถานที่น่าสนใจอาทิในแต่ละปีจะมีกิจกรรมในวันสำคัญทาพระพุทธศาสนามาโดยตลอดโดยพระอาจารย์ผู้ทรงคุณธรรมในการเผยแพร่ธรรมะ ณ พ.ศ. 2534 คือ พระครูมงคลชัยสุนทร (จรัญ วรรณมณี)
เดิมทีก่อนที่ พระอรหันต์เจ้า จะมาสร้างวัด และสร้างองค์พระธาตุเจดีย์เพื่อที่จะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่วัดไหล่หินหลวงนั้นชาวบ้านได้อาศัยอยู่ตามไหล่เขาเป็นหมู่บ้านอยู่แล้วส่วนชาวบ้านกลุ่มนี้ไม่ได้ปรากฏหลักฐานว่าได้อพยพมาจากแห่งหนตำบลใดมาตั้งรกรากอยู่ในหมู่บ้านนี้แต่สำเนียงภาษาในการพูดคล้ายกับสำเนียงของชาวนพบุรีศรีนครพิงค์(เชียงใหม่)มาจากปู่ทอนปู่ยักข์ ส่วนหมู่บ้านไหล่หินมีมาก่อนแล้วต่อมาเกิดเป็นหมู่บ้านที่ใหญ่โตมาจนถึงปัจจุบันนี้

Comments: 3

รายนามเจ้าอาวาสวัดชัยมงคลฯ

Thu Jul 16, 2009 1:57 am by chaimongkol

รายนามเจ้าอาวาส
1.พระติ๊บ ไม่ทราบฉายา
พ.ศ. 2480-2482 รก.เจ้าอาวาส
2.พระสำรวม ไม่ทราบฉายา
พ.ศ. 2482-2485 รก.เจ้าอาวาส
3.พระสงวน ไม่ทราบฉายา
พ.ศ. 2485-2486 รก.เจ้าอาวาส
4.พระอธิการใจ ถาวโร
พ.ศ. 2486-2498 เจ้าอาวาส
5.พระครูพิพัฒน์ศิลาจารย์(บัว ยโสธโร) (พระราชเมธาจารย์)
พ.ศ. 2498-2507 เจ้าอาวาส
6.พระอธิการบุญเลื่อน ธมฺมธโร(วรรณมณี)
พ.ศ. 2507-2517 เจ้าอาวาส
7.พระอธิการแก้วมา ทีฆายุโก(นิวาโต)
พ.ศ. 2517-2530 เจ้าอาวาส
8.พระครูมงคลชัยสุนทร(จรัญ อคฺคจาโร)
พ.ศ. 2530-2545 เจ้าอาวาส
9.พระไพบูลย์ ปภาโต
พ.ศ. 2545-2547 รก.เจ้าอาวาส
10.พระเกษม ปญฺญาธโร
พ.ศ. 2547-2547 รก.เจ้าอาวาส
11.พระหาญ สุทฺธสีโล(เทพหินลัพ)
พ.ศ. 2547-2548 รก.เจ้าอาวาส
12.พระประยูร ฉนฺทสาโร(ดวงชัย)
พ.ศ. 2549-2550 รก.เจ้าอาวาส
13.พระบุณยกร จิตฺตกุสโล(ทาฟู)
พ.ศ. 2551-2551 รก.เจ้าอาวาส
14.พระครูสังฆรักษ์วิชพงษ์ อิสฺสรธมฺโม
พ.ศ. 2552-ปัจจุบัน เจ้าอาวาส

Comments: 0

ประวัติวัด

Wed Jun 03, 2009 10:51 pm by chaimongkol

กิระ ดังได้ยินมาว่า วัดชัยมงคลธรรมวราราม (ไหล่หินใหม่ ธ.) ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง ห่างจากที่ว่าการอำเภอเกาะคาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 6 ก.ม. เศษ มีน้ำแม่ยาวไหลผ่านเปรียบเหมือนเป็นสายโลหิตหล่อเลี้ยงของชาวไหล่หินก็ไม่ ผิด (โหล่งยาว) อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร และมากไปด้วยน้ำใจที่ดีงาม ชุ่มฉ่ำ เยือกเย็น ประดุจดั่งสายน้ำในลำน้ำแม่ยาว พร้อมทั้งร่มเงาของเหล่าต้นไม้ยางที่ยืนตระหง่าน สูงเฉียดฟ้า และมองไปทางทิศ เหนือ ใต้ ออก ตก ก็มองเห็นหมู่บ้าน ทุ่งนา อันกว้างใหญ่ไกลลิบลิ่วสุดลูกหูลูกตา มองเห็นป่าไม้ ภูเขาเขียวขจีทำให้ชวนถวิลเป็นยิ่งนัก ยิ่งไปกว่านั้นชาวไหล่หินเขตคาม ยังมีวัดในพระพุทธศาสนาถือเป็นปูชนียสถานเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจถึง 2 วัด และเพรียกพร้องไปด้วยเสียงนกเสียงกา และผู้คนพูดจากันด้วยสำเนียงอันนุ่มนวลอ่อนหวานน่าฟังเป็นยิ่งนัก พร้อมทั้งมีสถานศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม ฉะนั้นส่วนใหญ่จึงเป็นสำนักของนักปราชญ์ นักปฏิบัติธรรม แตกฉานในธรรมะ เพื่อเผยแผ่พระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โปรดแก่คณะศรัทธาญาติโยม เป็นสิ่งที่เราภูมิใจไปตลอดกาลนิรันดร์และมีปูชนียสถานที่น่าสนใจของชาวพุทธ เราอีกวัดหนึ่ง นั่นคือ"วัดชังมงคลธรรมวราราม"(ไหล่หินใหม่ ธ.)
อนุสนธิ เนื่องจากวัดชัยมงคลธรรมวราราม หรือวัดไหล่หินใหม่ ธ. เดิมทีเป็นที่นา และบางส่วนเป็นสันดอน สำหรับปลูกสวนครัว ต่อมาปี พ.ศ. 2479 ท่านพระครูธรรมาภิวงค์ นั้นโดยเฉพาะบ้านไหล่หิน เป็นถิ่น ปิตุ และมาตุภูมิของท่าน ได้อุปสมบทวัดไหล่หินหลวง และได้ไปเรียนหนังสืออยู่ที่วัดบรมนิวาสวิหาร กรุงเทพมหานคร แล้วกลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดเชตวัน ในเมืองลำปาง ซึ่งเป็นวัดธรรมยุตนิกาย ส่วนวัดไหล่หินหลวง เป็นวัดฝ่ายมหานิกายไม่สะดวกในการกระทำสังฆกรรมท่านเป็นเจ้าคณะอำเภอใน จังหวัดลำปาง ธ. ต่อมาได้เลื่อนเป็นเจ้าคณะจังหวัดลำปาง

Comments: 4

เข้าสู่ระบบ(Log in)

ลืม(forget) password
 
 
Or
 
March 2024
MonTueWedThuFriSatSun
    123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031

Calendar Calendar

ผู้ที่กำลัง online
ผู้ที่ online ทั้งหมด 2 คน :: ลงทะเบียน 0 คน, ซ่อน 0 คน และ 2 ผู้มาเยือน

(ไม่มี)

[ View the whole list ]


มีผู้ใช้ online พร้อมกันสูงสุด 39 คน เมื่อ Thu Feb 01, 2024 7:44 pm
Statistics
สมาชิกทั้งหมด 46 คน
สมาชิกล่าสุดคือ wwitoon

Post ทั้งหมด 59 หัวข้อ in 36 subjects